วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : ปรมาณูแห่งความดี ที่จะทำลายสิ่งไม่ดี ให้มลายหายสูญ !!!





"เราสวดบทธัมมจักฯ แต่ละครั้งประดุจเป็น
"ปรมาณูแห่งความดี"
ที่หล่นจากกลางใจของพวกเรา
จะทำลายระเบิดสิ่งที่ไม่ดี
ไม่ว่าจะเป็นวิบากกรรม วิบากมาร ทุกข์โศก
โรคภัย สิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ที่ติดตัวมากี่ภพกี่ชาติ
ให้มลายหายสูญ ราบเป็นหน้ากลอง"
.......
พระเทพญาณมหามุนี


           บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
                                    อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง             สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
                              ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ                         ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
                             สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต                     โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
                             ยัตถากขาตา อุโภ อันตา                       ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
                             จะตูสวาริยะสัจเจสุ                              วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
                             เทสิตัง ธัมมะราเชนะ                           สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
                             นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง                         ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
                             เวยยากะระณะปาเฐนะ                         สังคีตันตัมภะฌามะ เส ฯ
                                                  
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

      เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง  วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ 
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ  
นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย 
อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง  อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ 
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ

      มัชฌิมา ปะฏิปะทา  ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

       กะตะมา จะ สา ภิกขะเว
      มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ 

      อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

     อะยัง โข สา ภิกขะเว
    มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ฯ ชาติปิ  ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา
มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ
สัมปะโยโค ทุกโข  ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว  ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา
โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ 
กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ
ตัณหายะ  อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
      อิ ทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ

     อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา  อาชีโว
สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ (หยุด)

     อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง
อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง  อุทะปาทิญานัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

    อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ
อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก 
อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง  ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ  ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

    อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ  เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ  อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม
ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ยาวะกีวัญจะ
    เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ  เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง
ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
     เนวะ ตาวาหัง
    ภิกขะเว  สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา
ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
     ยะโต จะ โข

    เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ  เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง
ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
     อะถาหัง
    ภิกขะเว  สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา
ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
     ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา
ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ

     อิทะมะโว จะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต
ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ  อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง 
อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง

    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง
ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง  อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ
วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ (หยุด)

     ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
     จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
     ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
     ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
     ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 
     นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา
     สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา
    สัททะมะนุสสาเวสุง

    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง 
อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา
เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ (หยุด)

     อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ  พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ
จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
     อะถะโข ภะคะวา  อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ
วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ
     อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
 ------------------------------------



คำแปลบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร..

..ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ 
สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ 
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
ในเวลานั้น พระองค์ได้ตรัสเตือนพระภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า

..ภิกษุทั้งหลาย ผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้น 
ไม่ควรปฎิบัติตน 2 ประการ คือ

(1) การแสวงหาความสุขทางกามคุณ แบบสุดโต่ง 
ซึ่งทำให้จิตใจต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้านที่มีความใคร่ 
เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนาไม่ใช่เป็นสิ่งประเสริฐ คือ 
มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึกคือกิเลส ไม่มีสาระประโยชน์อันใด

(2)การปฏิบัติตนแบบก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน 
เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก ไม่ใช่สิ่งประเสริฐ คือ 
มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึก คือ กิเลสไม่มีสาระประโยชน์อันใด ฯ

..ภิกษุทั้งหลาย หลักปฏิบัติอันเป็น ทางสายกลาง 
หลีกเลี่ยงจากการปฏิบัติแบบสุดโต่ง 
ซึ่งเราตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยวดยิ่ง 
เห็นได้ด้วยตาใน รู้ด้วยญาณภายใน เป็นไปเพื่อความสงบกิเลส 
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้อย่างทั่วถึง 
เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ

(1) ความเห็นชอบ
(2) ความดำริชอบ
(3) วาจาชอบ
(4) การงานชอบ
(5) เลี้ยงชีวิตชอบ
(6) ความเพียรชอบ
(7) ความระลึกชอบ
(8) ความตั้งจิตชอบ

..ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ 
ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐ
เกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ 
การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่เป็นทุกข์ 
แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ

ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ 
ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ 
พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ 
ปราถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ 
ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า
เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) 
ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง

..ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุหทัย) มีอย่างนี้ คือ 
ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก 
ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด 
ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน 
มัวเพลิดเพลินอย่าหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่

(1) ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
(2) ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่
(3) ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น 
เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น 
อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

..ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ 
ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลืออยู่ 
สละตัณหา ปล่อยวางตัณหา ข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา

..ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ 
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่

(1) ความเห็นชอบ
(2) ความดำริชอบ
(3) วาจาชอบ
(4) การงานชอบ
(5) เลี้ยงชีวิตชอบ
(6) ความเพียรชอบ
(7) ความระลึกชอบ
(8) ความตั้งจิตมั่นชอบ

..ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย 
ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้ เป็นทุกขอริยสัจจ

เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) 
เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย
ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน 
ว่านี้เป็นทุกขอริยสัจ เราได้กำหนดรู้แล้ว

..ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน

ว่านี้เป็นทุกสมุทัยอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรละ 
ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย 
ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน 
ว่านี้เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจเราละได้แล้ว

..ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย 
ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน 
ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง 

ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้)
เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย 
ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน 
ว่าเป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

..ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย 
ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน 
ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง 
ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง 
อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย 
ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน 
ว่าเป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

..ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ 
การเห็นตามความเป็นจริง ว่าอริยสัจ 4 มี 3 รอบ มีอาการ 12 
(ได้แก่ 
1. หยั่งรู้อริยสัจ แต่ละอย่างตามความเป็นจริง 
2. หยั่งรู้กิจของอริยสัจ 
3. หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้ว ในอริยสัจ) 
ยังไม่หมดจดเพียงใด

..ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ยืนยันตนว่า 
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ไม่มีใครจะเทียบได้ 
ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มาร พรหม แม้มวลมนุษย์ 
ทั้งที่เป็นสมณะเป็นพราหมณ์ ก็เทียบเท่ามิได้เพียงนั้น

..ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ 
การเห็นตามความเป็นจริงดังกล่าวมาหมดจดดีแล้ว 
เมื่อนั้นเราได้ยืนยันตนเป็นผู้ตรัสรู้ชอบดังกล่าวแล้ว เช่นนั้น

..การหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า 
ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว 
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีก

..ครั้นพระพุทธองค์ 
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณได้แสดงธรรมโดยปริยายดังกล่าวมา 
เหล่าภิกษูเบญจวัคคีย์ ก็ได้มีใจยินดีเพลินในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

..ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก 
ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ 
ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง 
กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ 
มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า 
สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย 
สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา 
เพราะสิ้นเหตุปัจจัย

..ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ 
ได้แสดงธรรมจักร คือ หมุนวงล้อแห่งธรรมที่ประกอบด้วย 8 ซี่ คือ 
อริยมรรคมีองค์ 8 

เหล่าภุมเทวดาก็เปล่งเสียงสาธุการบันลือลั่นว่า 
วงล้อแห่งธรรม ไม่มีวงล้ออื่นใดจะหมุนสู้ได้ 
ได้รับการหมุนไปโดยพระพุทธเจ้า 
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี 
ซึ่งไม่มีใครทำได้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

..เหล่าเทพเจ้าชั้นจาตุมมหาราชิกา ครั้นได้ยินเสียงเหล่าเทพภุมเทวดา
ต่างก็ส่งเสียงสาธุการ บันลือลั่นสืบต่อไป
จนถึงเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ -ชั้นยามะ - ชั้นดุสิต 
ชั้นนิมมานรดี - ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จนกระทั่งถึงชั้นพรหม

ตั้งแต่พรหมปาริสัชชา - พรหมปุโรหิตา - มหาพรหม 
ปริตตาภาพรหม - อัปมาณาภาพรหม - อาภัสสราพรหม 
- ปริตตสุภาพรหม - อัปปมาณสุภาพรหม - สุภกิณหาพรหม 
- เวหัปผลาพรหม - อวิหาพรหม - อตัปปาพรหม - สุทัสสาพรหม 
- สุทัสสีพรหม - จนกระทั่งถึงอกนิฎฐกาพรหมเป็นที่สุด

..ก็ส่งเสียงสาธุการบันลือลั่น เพียงครู่เดียว เสียงได้บันลือไปทั่วพรหมโลก

..ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน 
เสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ 
ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม

..ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ 
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า 
"โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" 
เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ

                                                   ...(((จบธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)))...

สวดทุกวันนะครับ^^ 



รวย! รอด! ปลอดภัย! มีชัยชนะ!
21 กันยายน 2559
สายลมแห่งความหวังดี 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น